การที่แฟ้มของเราหนาเตอะ ไม่ได้แปลว่ามีคุณภาพ เพราะกรรมการ จะแบ่งผลงานของน้องออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ผลงานการเข้าร่วม และผลงานที่ได้รับรางวัล
"ผลงานการเข้าร่วม" คือผลงานหรือเกียรติบัตรที่ได้จากการเข้าร่วมกิจกรรม ของหน่วยงานต่างๆ เช่น เข้าร่วมงานเปิดบ้านของมหาวิทยาลัย และทุกคนที่เข้าร่วมได้เกียรติบัตร เมื่อเข้าร่วมกิจกรรมครบตามเงื่อนไข ซึ่งผลงานลักษณะนี้จะมีคะแนนแต่ค่อนข้างต่ำ หรือบางที่ไม่พิจารณาผลงานเหล่านี้เลย
ส่วน "ผลงานที่ได้รับรางวัล" คือผลงานที่ต้องมีการแข่งขัน หรือมีเกณฑ์ชัดเจนในการประเมินผล (ของหน่วยงานที่มีชื่อเสียง/คุณภาพ) เช่น เหรียญทองโอลิมปิกวิชาการ หรือชนะเลิศโครงงานวิทยาศาสตร์ โดยผลงานเหล่านี้จะถือเป็นคะแนนเกรดท็อปของการประเมินเลย เพราะสิ่งนี้คือสิ่งที่ชี้วัดได้ว่า น้องเองมีความสามารถจริงๆ แล้วถ้าผลงานนั้นมีความใกล้เคียงกับสิ่งที่สอนในคณะนั้นๆ จะทำให้คะแนนยิ่งสูงเข้าไปอีก
สิ่งที่จะเกิดขึ้นในห้องสัมภาษณ์ไม่ใช่ถามไถ่สารทุกข์สุขดิบของน้อง แต่สิ่งที่อาจารย์หรือกรรมการ ต้องการรู้จากน้อง คือตัวน้องมีความพร้อมจะเข้าไปเรียนในคณะนั้นมากแค่ไหน ซึ่งสิ่งที่จะทำให้รู้ว่าพร้อมคือความรู้ทางวิชาการที่เกี่ยวข้องกับคณะนั้นๆ ซึ่งหลายครั้งพี่แม็กได้มีโอกาสได้คุยกับทั้งกรรมการที่สอบสัมภาษณ์รอบพอร์ต ต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า น้องหลายคนแทบไม่มีความรู้วิชาการที่เกี่ยวกับคณะนั้นๆเลย
ยกตัวอย่างเช่น สอบเข้าวิศวะ กรรมการถามว่ากระแสไฟฟ้าไหลจากขั้วไหนของแบตเตอรี่ ก็ตอบไม่ได้ หรือสอบเข้าวิทย์-คอม กรรมการขอให้อธิบายเงื่อนไข if..else ให้ฟังหน่อย ก็เงียบ ซึ่งพอตอบไม่ได้ คะแนนก็จะหายวูบเลย ดังนั้นถ้าใครคิดว่าจะสอบรอบพอร์ตให้ได้โดยไม่มีความรู้อะไรเลย อยากให้คิดใหม่เดี๋ยวนี้เลยครับ
ข้อนี้อาจจะไม่ใช่เรื่องใหญ่เทียบเท่าก่อนหน้านี้ แต่ก็สำคัญระดับหนึ่งเลยทีเดียว เพราะแค่น้องบางคนเดินเข้าห้อง ก็ทำให้กรรมการอยากจะเบือนหน้าหนีได้แล้ว ไม่ว่าเป็นเรื่องการแต่งตัว, กิริยามารยาท หรือน้ำเสียงในการพูด ซึ่งเราต้องยอมรับว่าสังคมไทยการเคารพผู้ใหญ่เป็นเรื่องสำคัญมาก (ถึงผู้ใหญ่บางคนจะไม่น่าเคารพขนาดนั้นก็ตาม) แต่อย่าลืมว่าเรากำลังมาขอร้องให้กรรมการ ให้คะแนนเราสูงๆ เพื่อที่เราจะได้เข้าไปเรียนคณะในฝันของเรา ดังนั้นถ้ามีโอกาสเข้าไปสอบถึงรอบสัมภาษณ์ อยากให้เตรียมเรื่องพวกนี้ไปด้วยนะครับ
รุ่นพี่หลายคนที่ตั้งใจสอบรอบพอร์ต พอเห็นแฟ้มตัวเองหนาเตอะ สีสันสวยงาม ก็เริ่มชะล่าใจ และปล่อยเวลาให้ผ่านไปจนถึงวันสัมภาษณ์ (ในกรณีที่ผ่านสัมภาษณ์) และมั่นใจว่าตัวเองได้แน่นอนแล้ว แต่ลืมไปว่าจำนวนผู้ผ่านสัมภาษณ์ กับจำนวนคนรับจริงห่างกันบางที่เกือบ 10 เท่า เลยทีเดียว เช่น สัมภาษณ์ 100 คน รับ 10 คน เป็นต้น ดังนั้นกว่าจะรู้ตัวอีกทีตอนผลประกาศก็ล่วงเลยมาถึงเดือน ตุลาคม-พฤศจิกายนแล้ว ซึ่งถ้านับกันดีๆ จะเหลือเวลาเพียง 1 เดือนก่อนสอบ TGAT/TPAT และ 4 เดือนก่อนสอบ A-level บอกเลยว่าถ้าไม่เคยเตรียมตัวมาก่อน ยังไงก็ไม่ทัน เพราะเพื่อนๆที่โฟกัส TCAS2-3 เค้าเตรียมมาตั้งแต่ช่วงมีนา-เมษาแล้ว พี่แม็กแนะนำว่าถ้าจริงใจกับตัวเอง แล้วคิดว่าติดกับดักโดยเฉพาะข้อ 1 ยังเวลาเหลือพอที่จะเตรียมตัวรอบ 2-3 เพราะรอบ 2-3 จะโฟกัสคะแนนสอบของเราเป็นหลัก ถ้าเราได้คะแนนเยอะกว่าคนอื่น ก็มีโอกาสที่เราจะสอบติดก่อนนั่นเอง
สำหรับน้องคนไหนที่สนใจอยากเริ่มเตรียมตัว คณิต-ฟิสิกส์ A-level พี่แม็ก-พี่ณัฐ สอนให้น้องใหม่ทั้งหมดตั้งแต่พื้นฐานเลย โดยมีหลักการง่ายๆว่า สอนให้น้องไปทำข้อสอบเองได้ ช่วงนี้มีโปรโมชั่นลดสูงสุด 3,000 บาท ด้วยน้า
ไปลองเรียนฟรีดูก่อนได้ทางนี้เลย >> คลิกที่นี่