แชร์

เริ่มต้นตัดสินใจซิ่วด้วยการตอบตัวเอง 5 ข้อนี้

1. คุยกับผู้ใหญ่ในบ้านแล้วหรือยัง?

ปฎิเสธไม่ได้เลยว่าน้องๆส่วนใหญ่ ยังต้องให้ผู้ใหญ่ในบ้านเป็นผู้ดูแลค่าใช้จ่าย ซึ่งแต่ละบ้านมีข้อจำกัดที่แตกต่างกัน บางบ้านพร้อมซัพพอร์ตในการสอบใหม่ เพราะไม่ใช่แค่เวลาน้องจะที่เสียไป แต่รวมถึงเงินก้อนหนึ่งที่น้องต้องใช้ในการสอบใหม่ครั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็น หนังสือคู่มือ, ค่าเรียนพิเศษ, ค่าสอบ และอื่นอีกมากมาย ดังนั้นควรพูดคุยประเด็นนี้ให้เรียบร้อยและเข้าใจให้ตรงกันก่อน ถ้าเรียบร้อยแล้วไปต่อกันที่ข้อ 2 ได้เลย

2. คุยกับตัวเองถึงสิ่งที่เราต้องแลกแล้วหรือยัง?

การสอบไม่ได้ดังที่หวังไม่ใช่จุดจบของชีวิต เพียงแต่เป็นทางแยกอีกทางที่เราเลือกเดินได้เพียงทางเดียว สิ่งแรกที่น้องๆต้องแลกนั่นคือสังคมที่จะหายไปอย่างน่าใจหาย จากช่วงมัธยมที่เรามีเพื่อนหลักสิบคน เจอกันเกือบทุกวัน แต่พอเราตัดสินใจสอบใหม่ เพื่อนๆของเราก็ไปเรียนในมหาวิทยาลัยและมีสังคมใหม่กัน ทำให้เราต้องดูแลตัวเองและอยู่กับตัวเองให้เป็น เพราะส่วนใหญ่จะตื่นมา และอยู่กับตัวเองเกือบตลอดทั้งวัน แต่ถ้าใครสามารถหาสังคมที่สอบใหม่เหมือนกันได้ ถือว่าช่วยในเรื่องนี้ไปได้เยอะเลยทีเดียว

3. มีแผนสำรองให้ตัวเองแล้วยัง?

ไม่มีใครสามารถรับรองผลได้ว่าหากเราสอบใหม่แล้ว เราจะสอบได้คณะ-มหาวิทยาลัยตามที่เราหวังไว้ ซึ่งการที่เรามีแผนสำรอง คือมีคณะรองลงมาที่หากเราพลาดคณะอันดับ 1 และเราจะเลือก หรือการบอกตัวเองว่าถ้ายังไม่ได้ก็อาจจะให้เวลาตัวเองอีกสักปีก็ไม่ใช่สิ่งที่แย่ (ถ้าทรัพยากรของเราเพียงพอ) ซึ่งสิ่งนี้อาจจะทำให้น้องหลายคนท้อแท้ แต่เชื่อเลยว่าจะทำให้ความกดดันในการสอบลดลง และอาจจะทำให้ประสิทธิภาพของการสอบออกมาดีกว่าที่คิดได้เลย

4. รับความกดดันไหวแน่นะ?

ความกดดันจะไม่เกิดขึ้นในวันที่ตัดสินใจเริ่มสอบใหม่ แต่จะกดทับเพิ่มขึ้นเรื่อยๆทุกๆวัน เหมือนเอากระดาษที่บางเบามาวางซ้อนกันเรื่อยๆ รู้ตัวอีกทีกระดาษที่ซ้อนทับกันก็หนักเสียจนขยับกระดาษแผ่นล่างไม่ได้แล้ว ซึ่งสาเหตุที่เกิดความกดดันขึ้น เพราะด้วยเวลาที่ใช้ในการเตรียมตัวจะอยู่ที่ประมาณ 1 ปี ซึ่งไม่ใช่เวลาน้อยๆเลย พอเราเตรียมตัวมากขึ้นเรื่อยๆ เราก็เริ่มคาดหวังกับตัวเองมากขึ้น จนในที่สุดอาจจะมัวแต่กดดันตัวเองจนลืมว่าเราพัฒนาตัวเองมาไกลแค่ไหนแล้ว ดังนั้นต้องมีสติและหากิจกรรมอย่างอื่นทำบ้าง เพื่อบริหารจิตใจให้แข็งแรงในทุกด้าน

5. เราพร้อมจะเปลี่ยนตัวเองเป็นคนใหม่(จริงๆ)ได้แน่นะ?

สุดท้ายแล้วกับดักสำคัญของเด็กซิ่วหรือเด็กที่จะสอบใหม่คือเป็น ไฟไหม้ฟาง ทำแบบจริงจังได้ 1-2 อาทิตย์ก็เลิกทำ และกลับไปทำตัวแบบเดิมๆ ผลที่ออกมาก็ไม่ต่างจากปีก่อน หลายคนซิ่วสะสม 3-4 ปี แต่ไม่เปลี่ยนแปลงตัวเอง ก็สอบไม่ติดสักที จากประสบการณ์ของพี่แม็ก บอกได้เลยว่าเด็กที่สอบใหม่และติดตามที่หวังส่วนใหญ่จะเหมือนเด็กเกิดใหม่ คือถ้ามองกลับไปในปีก่อนหน้าจะเหมือนเป็นคนละคนเลยแหละ ถ้าอยากรู้ลองถามคนรอบข้างดู เขาจะให้คำตอบเราได้ดีที่สุดเลย

สุดท้ายแล้วการสอบใหม่หรือการซิ่วไม่ใช่เรื่องน่ากลัว แต่ไม่ใช่ถนนที่โรยด้วยกลีบกุหลาบแน่นอน ดังนั้นต้องเตรียมตัวและเตรียมใจให้พร้อม ถ้าบอกตัวเองว่าพร้อม ก็ลุยให้เต็มที่ อย่าทำแค่ครึ่งๆกลางๆ เพราะการสอบเข้ามหาวิทยาลัยนั้นเป็นระบบที่คนที่ได้คะแนนมากกว่าจะมีสิทธิ์เลือกก่อน พี่ก็บอกได้แค่ว่าทำให้ตัวเองมีสิทธิ์เลือกให้ได้มากที่สุด พี่แม็กเป็นกำลังใจให้น้องทุกคน ถ้าอยากคุยกับพี่แม็กก็กดแอดไลน์ด้านล่างโลโก้เขียวได้เลยนะครับ หวังมากๆว่าปีหน้าจะมีชื่อน้องติดอันดับ 1 นะครับ


บทความที่เกี่ยวข้อง
ดาวน์โหลดเอกสาร! เรียน TGAT2 กับพี่แม็ก
ห้ามพลาดเด็ดขาด มือใหม่หัดเตรียมสอบ TGAT2 พี่แม็กจัดเต็ม พาติวครบทุกพาร์ท พื้นฐานแน่นอย่างแน่นอน
กับดัก 3 ข้อ ของน้องที่จะยื่นแฟ้มสะสมผลงาน TCAS1
น้องๆที่หมายมั่นปั้นมือกับ TCAS รอบที่ 1 หรือรอบยื่นแฟ้มสะสมผลงาน อาจจะลืมคำนึงถึงเรื่องสำคัญที่จะกลายเป็นกับดัก ซึ่งถ้าใครหลบกับดักเหล่านี้ได้ รับรองโอกาสผ่านรอบนี้สูงมากๆเลย
เช็คด่วน! 5 คุณสมบัติในการสมัคร TCAS68
ในการสมัครสอบเข้ามหาวิทยาลัยในระบบ TCAS จะมีการพิจารณาคุณสมบัติแยกตามคณะ-มหาวิทยาลัยที่เราจะสมัคร ดังนั้นต้องเช็คให้ชัวร์ก่อนสมัคร เพราะถ้าคุณสมบัติไม่ผ่าน ก็อาจจะตกรอบตั้งแต่แรกเลยก็ได้!
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy