ปัจจัยแรกสุดที่สำคัญในการเรียนคือค่าใช้จ่าย ซึ่งหลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่า มหาวิทยาลัยของรัฐบาล จะมีเงินอุดหนุนจากรัฐบาลที่มอบให้นักศึกษาทุกคนที่เข้าเรียน ทำให้ค่าเทอมหรือค่าบำรุงการศึกษามีแนวโน้มต่ำกว่าของฝั่งของมหาวิทยาลัยเอกชน และยิ่งไปกว่านั้นทุนการศึกษาในการเรียนของมหาวิทยาลัยรัฐยังมีเพียบ ช่วยผู้ใหญ่ในครอบครัวให้ประหยัดค่าใช้จ่ายได้อีกเยอะเลย
การเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยรัฐบาลส่วนมากจะเน้นใช้คะแนนสอบในการตัดสินรับนักศึกษาเข้าเรียน ซึ่งหากเราไปดูคะแนนของม.รัฐ จะมีแนวโน้มสูงกว่ามหาวิทยาลัยเอกชนระดับนึง ซึ่งอาจจะอนุมานได้ว่าเพื่อนๆ ที่จะเข้ามาเรียนพร้อมกับเราก็ต้องได้คะแนนสอบใกล้เคียงกับเรา เทียบกับม.เอกชน หลายแห่งไม่จำเป็นต้องใช้คะแนนสอบเลย ก็สามารถสมัครเข้าเรียนได้เลย แต่ไม่ว่างอย่างไร เราไม่สามารถใช้คะแนนสอบในการตัดสินสังคมหรือเพื่อนๆของเราได้ทั้งหมด อาจจะมีปัจจัยอื่นเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย
หากน้องๆลองสังเกต มหาวิทยาลัยที่มีคะแนนสูงมักจะมีเชื่อเสียงและความเก่าแก่มากกว่าเสมอ อาจจะด้วยเวลาที่มหาวิทยาลัยนั้นได้สะสมชื่อเสียง ผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพมารุ่นต่อรุ่น พิสูจน์จริงแล้วว่าจบออกมามีศักยภาพในการทำงานได้ดี อาจจะแตกต่างจากมหาวิทยาลัยที่เปิดสอนมาไม่นานมาก ก็ทำให้ยังไม่มีชื่อเสียงมาก เพราะยังไม่สามารถพิสูจน์ถึงบัณฑิตที่จบมาได้มากพอนั่นเอง
เคยได้ยินมั้ย? ว่าต้องไปขอให้ห้องแลปที่มหาวิทยลัยนั้น หรือยืมใช้อุปกรณ์ที่มหาวิทยาลัยนี้ หากเราได้ยินชื่อมหาวิทยาลัยก็จะร้องอ๋อทันที เพราะส่วนใหญ่จะเป็นชื่อมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงที่เราคุ้นเคยกัน เนื่องด้วยหากเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐบาล ก็มีแนวโน้มจะมีขนาดใหญ่และจำนวนนักศึกษามากพอ ที่จะขอเงิน (จากรัฐบาล) ในการซื้ออุปกรณ์ที่มีราคาสูงได้ ทำให้มีแนวโน้มที่จะมีความพร้อมมากกว่านั่นเอง
สุดท้ายแล้วไม่สามารถปฏิเสธได้เลย ว่าบัณฑิตจากมหาวิทยาลัยของรัฐบาล มักจะมีโอกาสในการเข้าทำงานมากกว่า เพราะว่าหลายๆสถานที่ทำงาน มีรุ่นพี่ที่เรียนจบมาก่อนได้พิสูจน์ตัวเองในการทำงานแล้วว่ามีแนวโน้มทำได้ดีกว่า แต่นั่นไม่ได้แปลว่าบัณฑิตที่เรียนจบจากม.เอกชน ไม่สามารถทำงานได้ดี แต่อาจจะต้องใช้เวลาในการพิสูจน์ตัวเองมากกว่าเท่านั้น ถ้าเราเรียนจบมาแบบมีคุณภาพ รับรองได้ว่าโอกาสในการหางานจะไม่ต่างจากคนที่จบ ม.รัฐ อย่างแน่นอน